ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blogger ของนางสาวอริสา กุณารบค่ะ :D Cute Gingerbread Man

วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2563

Learning Log 2
     ☀ Monday, January 27, 2020 🌄
⏰ 12.30 - 15.00 PM
      การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย


💡 The knowledge gained
      วันนี้ก่อนที่จะเริ่มเรียนในหัวข้อที่จะเรียนใหม่อาจารย์ได้มีการทบทวนความรู้เดิมจากที่ได้สอนไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕

    💬 การคิด  เป็นกระบวนการทางสมองที่เกิดขึ้น เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น ทำให้จิตและสมองนำข้อมูลที่มีอยู่มาหาวิธีการเพื่อที่จะแก้ปัญหานั้น
   💬 ความสำคัญของการคิด


  • การคิดนำไปสู่การกระทำและการเปลี่ยนแปลง
  • การคิดทำให้ได้วิธีการที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา
  • การคิดที่ถูกต้อง ช่วยลดเวลาในการแก้ปัญหา ลดการใช้ทรัพยากร ซึ่งนำไปสู่การป้องกันและแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ
  • การคิดที่ไม่ถูกต้อง นอกจากจะไม่แก้ปัญหาแล้ว ยังเป็นการสร้างปัญหาและก่อให้เกิดความสูญเสีย
  💬 คุณค่าของความคิดสร้างสรรค์


  • คุณค่าต่อสังคม
  • คุณค่าต่อตนเอง
  • ช่วยลดความเครียดทางอารมณ์
  • ช่วยส่งเสริมสุนทรียภาพ
  💬  คุณภาพของการคิด         
  • มีความลึกซึ้ง
  • มีเป้าหมาย
  • เป็นอิสระ
  • มีความอ่อนตัว
  • มีความรวดเร็ว
  • มีความกว้างขวาง
  💬 รูปแบบของการคิด
  • การคิดเชิงวิพากย์  (Critical Thinking)
  • การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)
  • การคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis-Type Thinking)
  • การคิดเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Thinking)
  • การคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking)
  • การคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking) 
  • การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)
  • การคิดเชิงบูรณาการ (Integrative Thinking)
  • การคิดเชิงอนาคต (Futuristic Thinking)
  • การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
  • การคิดอย่างมีเหตุมีผล (Logical Thinking)
💬 องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
1) ความคิดริเริ่ม
2) ความคิดคล่องแคล่ว
3) ความคิดยืดหยุ่น
4) ความคิดละเอียดลออ

 พัฒนาการของเด็ก คือ ความสามารถของเด็กที่เปลี่ยนแปลงไปตามวัย หรืออายุ 

 และอาจารย์ได้มีกิจกรรมให้นักศึกษาทำกิจกรรม 2 กิจกรรม โดยกิจกรรมแรกให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน และกิจกรรมที่ 2 อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม

กิจกรรมที่ 1  อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน อาจารย์ให้นักศึกษาในแต่ละกลุ่มแตะสัมผัสกับเพื่อนในกลุ่ม เรียงลำดับจากต่ำสุดไปสูงสุด โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน 
กลุ่มของดิฉันได้สร้างสรรค์ท่าแปลกใหม่ที่ไม่ซ้ำกับกลุ่มอื่น โดยเรียงลำดับจากต่ำสุดเป็นฐานที่มั่นคงเรียงไปจนถึงสูงสุด โดยมีจุดที่สัมผัสกัน คือ มือ และเท้า


กิจกรรมที่ 2  อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม อาจารย์ได้ให้นักศึกษาคิดท่าทางสร้างสรรค์เป็น "เรือ" 🚢 ตามความคิดของนักศึกษา


        
💡 Evaluation
Teacher Evaluation : อาจารย์เข้าสอนและปล่อยนักศึกษาตรงต่อเวลา สอนหรืออธิบายเนื้อหาที่เรียนให้นักศึกษาฟังได้อย่างเข้าใจได้ง่ายและชัดเจน มีการทบทวนความรู้เดิมก่อนเริ่มสอนหัวข้อที่จะเรียนใหม่ และมีกิจกรรมใหม่ๆมาให้นักศึกษาได้ทำในห้องเรียน
Self-assessment : เข้าเรียนตรงต่อเวลา และได้ร่วมทำกิจกรรม ร่วมคิดท่าทางร่วมกับเพื่อนในกลุ่ม
Evaluate friends  : เพื่อน ๆ ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและร่วมกันทำกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน และได้สร้างสรรค์ท่าทางออกมาได้ดีค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น