ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blogger ของนางสาวอริสา กุณารบค่ะ :D Cute Gingerbread Man

วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2563

Learning Log 10
      FridayApril 17, 2020 🌄
⏰ 12.30 - 15.30 PM
     การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

💡 The knowledge gained
        ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนในหัวข้อเรื่อง "การเคลื่อนไหวและจังหวะ" 
🏃 การเคลื่อนไหวและจังหวะ หมายถึง อัตราช้า เร็วของการเคลื่อนไหวเกิดจากการตบมือ การเคาะ การตี การดีด การเป่า เป็นต้น เป็นกระบวนการสำรวจตนเอง
🏃 การเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย
เช่น การวิ่ง การเดิน การก้าว การกระโดด เป็นการใช้ประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อใหญ่ประสานสัมพันธ์กับตา
🏃 ความเป็นมาของการเคลื่อนไหวและจังหวะ
จังหวะธรรมชาติ ได้แก่ ลมพัด กระแสน้ำ น้ำไหล เป็นต้น
  - การที่เด็กจะตอบสนองของเสียง เด็กจะทำท่าทางตามเสียง เช่น เสียงลมพัด เสียงกระแสแม่น้ำ 
จังหวะตามกิจวัตรประจำวัน ได้แก่ การแปรงฟัน เดิน วิ่ง เป็นต้น
🏃 ความสำคัญของการเคลื่อนไหวและจังหวะ
การเคลื่อนไหวและจังหวะจะช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลายจากความตึงเครียด ทั้งทางกายและใจ ผู้ใหญ่ควรคำนึงถึงเสรีภาพในการเคลื่อนไหวของเด็ก
🏃 ความสัมพันธ์ของกิจกรรมเคลื่อนไหวกับการเรียนรู้ทักษะทางกาย
1) การทำความเข้าใจ
2) ความสัมพันธ์
3) การแสดงออกอย่างอัตโนมัติ
🏃 มีจุดมุ่งหมายองค์รวมทั้ง 4 ด้าน ดังนี้
1) ด้านร่างกาย ในส่วนของกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ การประสานสัมพันธ์อวัยวะระหว่าง กล้ามเนื้อ - ตา
2) ด้านอารมณ์-จิตใจ การแสดงออกตามทชความรู้สึก การรับรู้ถึงความรู้สึก
3) ด้านสังคม
4) ด้านสติปัญญา
🏃 เงื่อนไขการเรียนรู้ของบุคคล
1) เงื่อนไขในตัวบุคคล
2) เงื่อนไขภายนอก 
     - คำอธิบาย 
     - ภาพ , สื่อ
     - การสาธิต
     - การฝึก
        - การให้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback)
🏃 การเคลื่อนไหวกับการพัฒนาสมอง
เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวของร่างกายกับการทำงานของสมอง (การบริหารสมอง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำสะอาด
   การเคลื่อนไหวมีทั้ง การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ การเคลื่อนไหวพร้อมอุปกรณ์ และการเคลื่อนไหวแบบไม่มีอุปกรณ์
   การทำงานของสมอง : เด็กแรกเกิด - 6 ปี สมองจะทำงานได้ดี พัฒนาได้ถึง 80% (ซึมซับ รับรู้ ปรับโครงสร้าง)
🏃 หลักการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
เด็กได้เลียนแบบในเรื่องต่างๆ ซึ่งเด็กแต่ละคนจะทำท่าทางต่างๆที่ไม่ซ้ำกัน
ตามธรรมชาติ เช่น เด็กทำท่าทางการว่ายน้ำ 
ชีวิตรอบตัวเด็ก 
ชีวิตสัตว์ต่างๆ เช่น ทำทางท่านกบิน 
ความรู้สึก เช่น เด็กทำท่าทางดีใจกระโดดโลดเต้น
เสียงต่างๆ 
- ใช้สิ่งของที่อยู่รอบตัวเด็ก เช่น เศษวัสดุ ผ้า เมื่อเราต้องการริ้บบิ้น สิ่งที่สามารถใช้แทนริ้บบิ้น ได้แก่ ผ้า เชือก กระดาษทิชชู่
- ครูกำหนดจังหวะ สัญญาณนัดหมาย เช่น ครูเคาะจังหวะ 2 ครั้งติดกัน ให้เด็กๆหยุดอยู่กับที่ทันที
- สร้างบรรยายกาศอิสระในห้องเรียน 
- สร้างความรู้สึกผ่อนคลายให้กับเด็ก เปิดเพลงช้าๆ สบายๆ
🏃  บทบาทครูในการจัดกิจกรรม
ให้เด็กออกมาร่วมกิจกรรมกลุ่มทีละไม่เกิน 10 คน 
ครูกำหนดจังหวะ ให้สัญญาณที่สัมพันธ์กับคณิตศาสตร์ เช่น เมื่อครูเคาะจังหวะ 2 ครั้งติดกันให้เด็กหยุดแล้วจับคู่กับเพื่อน 2 คน
🏃 ลักษณะการเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่
ได้แก่ การกระโดดอยู่กับที่ การวิ่งอยู่กับที่ การยืดเหยียด การบิดตัว การหมุนตัว การก้ม การลุกนั่ง เป็นต้น
🏃 ลักษณะการเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่
ได้แก่ การวิ่ง การเดิน การก้าว การไถล การคลาน เป็นต้น
    กิจกรรมต่อมาอาจารย์ได้มอบหมายให้นักศึกษาถ่ายคลิปวิดีโอทำท่าโยคะสำหรับเด็กปฐมวัย และคลิปวิดีโอเต้นเพลงสร้างสรรค์
ท่าโยคะสำหรับเด็ก ท่าพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว

เพลงและท่าเต้นสร้างสรรค์สำหรับเด็ก

💘 ภาพกิจกรรมในการเรียน Online 
 💡 Evaluation
Teacher Evaluation : สัปดาห์นี้อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาทำในคาบเรียนเพื่อที่นักศึกษาจะได้ไม่มีงานค้าง
Self-assessment : อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาทำในคาบเรียนเพื่อที่นักศึกษาจะได้ไม่มีงานค้างซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากค่ะ ^^  
Evaluate friends  : เพื่อนๆเข้าเรียนกันทุกคน ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน และได้ถ่ายคลิปวิดีโอที่สร้างสรรค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น