ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blogger ของนางสาวอริสา กุณารบค่ะ :D Cute Gingerbread Man

วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2563

Learning Log 9
      FridayApril 10, 2020 🌄
⏰ 12.30 - 15.30 PM


💡 The knowledge gained
     ในสัปดาห์อาจารย์ได้สอนในหัวข้าเรื่อง "ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์พัฒนาความคิดสร้างสรรค์" 
🎶พลง เจ็ดวันเจ็ดสี 🎹 🎼
                                                 (ฐะปะนีย์ นาครทรรพ)
                   เจ็ดวันฉันนั่งนับ                 อาทิตย์รับเริ่มสีแดง
               วันจันทร์นั้นเปลี่ยนแปลง        เป็นสีเหลืองเรื่อเรืองตา
               วันอังคารสีชมพู                     ช่างงามหรูดูทีท่า
               วันพุธสุดโสภา                       เขียวขจีสีสดใส
               วันพฤหัสบดี                          ประสานสี แสดวิไล
               วันศุกร์ฟ้าอำไพ                     เสาร์สีม่วง เด่นดวงเอย

🎶 เพลง หนึ่งปีมีสิบสิงเดือน 🎹 🎼
       หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน       อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน    อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์

ในเพลงเจ็ดวันเจ็ดสี และ เพลงหนึ่งปีมีสิบสองเดือนนี้ เด็กสามารถได้ใช้คิดสร้างสรรค์ในเนื้อเพลงตรงช่วงเนื้อเพลงท่อนสุดท้าย เด็กๆอาจจะเติมเนื้อเพลงลงไป เช่น "ลัน ลัน ลา" , "ลา ลา ลัน ลา" เป็นต้น แล้วแต่ความคิดของเด็กที่จะเติมเนื้อเพลงลงไป 
เด็กจะเกิดความเชื่อมั่น ก็ต่อเมื่อครูผู้สอนนั้นเปิดใจ เปิดโอกาสยอมรับความคิดเห็นของเด็ก ให้เด็กได้แสดงออกในสิ่งที่คิด เด็กจะเกิดความกล้าที่จะแสดงออก และเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง

🍎 บทบาทของครูกับการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์พัฒนาความคิดสร้างสรรค์
1) ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาและทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เพื่อวางแผนการจัดกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก เนื้อหา ควรเลือกให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก จึงจะเหมาะสม 
2) ให้โอกาสเด็กได้เล่น เพราะการเล่นจะช่วยให้เด็กคิดและสร้างสรรค์ ครูต้องจัดกิจกรรม วัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่ท้าทาย ชวนให้เด็กสนใจ เข้ามาเล่นมาทดลอง เช่น หนังสือและรูปภาพ เกี่ยวกับคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ เกมนับจำนวน เป็นต้น
3) ให้เด็กมีส่วนร่วมริเริ่มกิจกรรม โดยครูถามคำถามปลายเปิด เช่น เด็กๆรู้ได้อย่างไรว่าผลไม้ 2 ผลนี้ ผลไหนหนักกว่ากัน และเราสามารถใช้อะไรชั่งน้ำหนักของผลไม้ได้บ้าง ? เด็กจะช่วยกันคิดและวางแผนกิจกรรม จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์หรือจัดทำขึ้นเอง
4) จัดเตรียมซื้ออุปกรณ์ที่มีความหลากหลาย เพื่อให้เด็กริเริ่มกิจกรรมได้มากกว่า 1 กิจกรรม เช่น ครูจัดเตรียมเชือกให้เด็ก เด็กๆอาจนำเชือกมาต่อกันให้ยาว หรือมัดเชือกจนเกิดเป็นรูปทรงต่างๆ ตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
5) จัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้ริเริ่มอย่างอิสระ กล้าแสดงออก กล้าคิด กล้าพูด กล้าที่จะทำ รู้จักคิดและแก้ปัญหา
6) จัดประสบการณ์และสภาพแวดล้อมที่ใกล้ตัวเด็กและสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
7) จัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นเป็นกลุ่ม และรายบุคคล เล่นได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
8) จัดกิจกรรมให้เด็กได้ไปศึกษานอกสถานที่ เพื่อให้เด็กได้มีประสบการณ์ตรงที่หลากหลาย เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน
9) ครูควรคำนึงถึงประสบการณ์ที่เด็กจะได้รับอย่างคุ้มค่า สามารถบูรณาการทักษะอื่นๆได้
10) ประสานสัมพันธ์ระหว่างครูและผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ความร่วมมือกันในการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก

กิจกรรมที่ 1 วาดภาพต่อเติมตัวเลข 1-9

กิจกรรมที่ 2 ต่อเติมเรขาคณิต
🍒 ในส่วนของกิจกรรมต่อเติมเรขาคณิต 🍒 
วัสดุ อุปกรณ์
1) กระดาษ 1 แผ่น
2) กรรไกร
3) สี
       อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำกระดาษมา 1 แผ่น จากนั้นให้นักศึกษาวาดภาพเรขาคณิตและตัดกระดาษเป็นเรขาคณิตทั้งหมด 9 ชิ้น และระบายสีให้เห็นชัดเจน จากนั้นนำมาต่อประกอบเป็นรูปตามความคิดสร้างสรรค์ของเราเอง

🍎 บทบาทของผู้ปกครองกับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์พัฒนาความคิดสร้างสรรค์
1) เห็นคุณค่าของการฝึกให้เด็กคิดหรือเล่นสนุกกับคณิตศาสตร์อย่างอิสระ จะทำให้เด็กเกิดริเริ่มความคิดสร้างสรรค์ การตอบคำถามของเด็ก หรือถามเด็กเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
   - วันนี้ลูกอยากช่วยคุณแม่ทำอะไร ?
   - ลองทายดูซิ วันนี้วันอะไร ? (การทายเรื่องวันเป็นการจัดหมวดอยู่กับเรื่องของเวลา)
2) ให้โอกาสเด็กได้ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ประจำวันและใกล้ตัวเด็ก เช่น การเก็บของเล่น ให้เป็นหมวดหมู่ (การเก็บของเล่นจะส่งเสริมกระบวนการทักษะสมองของ EF )
3) ส่งเสริมให้เด็กสังเกตจากสิ่งแวดล้อมขณะที่อยู่กับพ่อแม่ หรือขณะทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การอาบน้ำ ฝึกให้เด็กสังเกตความแตกต่างของน้ำที่ไหลจากฝักบัว หรือ ก็อกน้ำ น้ำที่ไหลออกมาจากฝักบัว จะมีลักษณะที่เป็นเม็ดเล็กๆ หรือฝอยๆ แต่น้ำที่ไหลออกมาจากก็อกน้ำจะไหลเป็นสายตรงลงมา 
           💡เมื่อต้องการฝึกความคิดสร้างสรรค์แก่เด็กควรถามคำถามปลายเปิด เช่น ถ้าเราอยากได้น้ำที่เป็นเม็ดเล็กๆ ฝอยๆเหมือนฝักบัว เด็กๆคิดว่าเราสามารถทำอย่างไรได้บ้าง ? อาจจะใช้ขวดพลาสติกเจาะรูเล็กๆ รอบๆขวดพลาสติกแล้วต่อสายยางให้น้ำไหลผ่าน 
4) ไม่วิพากย์วิจารณ์ หรือตำหนิสิ่งที่เด็กทำไม่ถูกต้อง จะทำให้เด็กเกิดขาดความมั่นใจ
5) จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสเลือกหลากหลายกิจกรรม โดยแต่ละกิจกรรมไม่ควรใช้เวลาที่นานเกินไปและไม่ยากเกินไป (ควรเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก)
6) ส่งเสริมให้เด็กช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น พ่อแม่ควรหากิจกรรมที่ให้พี่น้องได้ทำร่วมกัน หรือทำด้วยตนเอง จะทำให้เด็กเรียนรู้การปรับตัว การมีน้ำใจ การยอมรับซึ่งกันและกัน
7) เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก ** พ่อ แม่ควรทำตัวเป็นนักคณิตศาสตร์สร้างสรรค์ให้เด็กเห็นและเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน
8) จัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้เด็กนำมาใช้ขีดเขียน วาดภาพ ได้อ่าน นับจำนวนเลข  เป็นต้น
ภาพกิจกรรมขณะเรียนออนไลน์ แอพริเคชั่น Zoom

🍑 🍑 🍑 🍑 🍑 🍑 🍑 🍑 🍑 🍑 🍑 🍑 🍑 🍑 🍑 🍑

💡 Evaluation
Teacher Evaluation : อาจารย์ได้มีการเตรียมการเรียนการสอนแก่นักศึกษาได้ดี ใช้แอพริเคชั่น Zoom ในการเรียนการสอน ได้ให้นักศึกษาทำกิจกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ มีการถามไถ่ พูดคุยกับนักศึกษา 
Self-assessment : ตั้งใจเรียนและฟังที่อาจารย์สอน ได้จดบันทึกสิ่งที่ได้เรียนในวันนี้ และทำกิจกรรมที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ทำ 2 กิจกรรมในวันนี้
Evaluate friends  : เพื่อนๆเข้าเรียนกันทุกคน ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน มีการตอบคำถามเมื่ออาจารย์ถามหรือขอความคิดเห็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น