ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blogger ของนางสาวอริสา กุณารบค่ะ :D Cute Gingerbread Man

วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2563

Learning Log 11
      FridayApril 24, 2020 🌄
⏰ 12.30 - 15.30 PM
     การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

💡 The knowledge gained
       ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนในหัวข้อเรื่อง "การวัดและการประเมินพัฒนาทางความคิดสร้างสรรค์" ก่อนเข้าสู่เนื้อหาที่เรียนเมื่อพูดถึงเรื่อง "ประเมิน" เราจะนึกถึงในเรื่องของเกณฑ์ มาตรฐาน เครื่องมือการประเมิน และวิธีการประเมิน เป็นต้น
💮 การประเมินมาตรฐาน
1) การสังเกต   
2) การสนทนา ตอบคำถาม  
3) การสัมภาษณ์ 
4) แบบทดสอบ 
5) การประเมินชิ้นงาน ผลงาน
การประเมินเด็ก เพื่อให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็ก  เพราะการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจะสะท้อนเกิดการเรียนรู้ของเด็ก
💮 การประเมิน คือ การที่นำเอาสิ่งที่ได้จากการประเมินมาปรับปรุง และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
💮 หลักของการวัดและการประเมินความคิดสร้างสรรค์
สร้างบรรยากาศให้ความรู้สึกผ่อนคลาย เป็นอิสระ ไม่เคร่งเครียดหรือเป็นระเบียบวินัยจนเกินไป
ครูจะไม่นำเอาผลของการวัดและประเมินมาเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น
💮 เทคนิควิธีวัดความคิดสร้างสรรค์
1) การสังเกต
2) การวาดภาพ เป็นกิจกรรมที่ต้องจัดให้เด็กทุกวัน
    ** การวาดภาพ แสดงออกถึงความรู้สึก ความคิดของเด็ก สื่อสารออกมาทางการวาดภาพ ซึ่งเป็นต้นทุนของการเขียน
3) รอยหยดหมึก 
4) การเขียนเรียงความและงานศิลปะ
5) แบบทดสอบ
portfolio พอร์ต ฟอลิโอ  เป็นการประเมินที่มีความหลากหลาย มีการจัดเป็นระบบระเบียบ ข้างในจะมีประวัติของเด็ก และมีผลงาน ชิ้นงานที่หลากหลาย จัดออกมาเป็นขั้นตอน
💮 ผู้ปกครอง ครู และโรงเรียน ทำไมความเข้าใจไปในแนวทางเดียวกันว่าความคิดสร้างสรรค์มีความสำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาตั้งแต่ช่วงอายุแรกเกิด - 6ขวบ
เพื่อในการพัฒนาเด็กจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
💮 บทบาทของครูปฐมวัยกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
1) จัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน  การจัดมุมต่างๆในห้องเรียน เช่น มุมนิทาน หนังสือนิทาน เด็กดูรูปภาพ เก็บภาพแล้วไปประสานสัมพันธ์กับสิ่งที่รู้ ประสบการณ์เดิม เกิดการปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่ แสดงออกมาโดยผ่านการเล่านิทานของเด็ก
2) จัดกิจกรรมและจัดประสบการณ์
3) การวัดประเมินผล ดูเด็กเป็นตัวตั้ง
4) ให้ความสนใจเด็ก  สนใจเพื่อกระตุ้นเด็ก ให้ความนับถือเด็ก ให้เกียรติเด็ก 
5) การจัดเตรียมสื่อวัสดุอุปกรณ์ 
💮 บทบาทของผู้ปกครองกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เด็กปฐมวัย
1) สร้างบรรยากาศแบบประชาธิปไตย รับฟังเด็ก ให้ความรู้สึกที่เท่าเทียม ผ่อนคลายเด็กจะรู้สึกเป็นอิสระ
2) การให้ความรัก ความอบอุ่น เอาใจใส่
3) การช่วยเหลือ พึ่งพาตนเอง เป็นหนึ่งกระบวนการส่งเสริมทักษะ EF เช่น การเก็บของเล่น เด็กช่วยเหลือพึ่งพาตนเองโดยการเก็บของเล่นให้เข้าที่ให้เรียบร้อยจนสำเร็จ
4) การส่งเสริมเอาใจใส่เด็ก
5) เปิดโอกาสให้เด็กได้ซักถาม ตอบข้อซักถาม
6) แสดงความคิดเห็นร่วมกัน
7) จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมจินตนาการความคิดสร้างสรรค์
💮 คุณลักษณะทางความคิดสร้างสรรค์ของครูปฐมวัย
1) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการสอน
2) เป็นแหล่งความรู้ และมีความรอบรู้มีความคิดสร้างสรรค์
3) สนใจรอบด้าน สนใจในกิจกรรมต่างๆหลายๆอย่างไม่ซ้ำกัน
4) อารามณ์ขัน
5) สุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ทั้งกายและจิตใจ
6) คุณสมบัติส่วนตัว เช่น การแต่งกายเหมาะสมถูกกาลเทศะ
💮 การสอนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
1) จัดกิจกรรมให้เด็กเรียนรู้แบบระดมพลังสมอง 
2) เด็กเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริง
3) เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วม
4) เปิดโอกาสให้เด็กได้นำเสนอผลงาน  เช่น การนำผลงานเด็กติดบอร์ดโชว์หน้าห้อง
5) ให้เด็กแสดงความคิดหลายๆด้าน การแสดงออกทางอารมณ์
6) ส่งเสริมความสามารถของเด็ก 

กิจกรรมในเวลาเรียนที่อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาทำ 📄
กิจกรรมที่ 1 นำเสนอสื่อธรรมชาติที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
กิจกรรมที่ 2 อาจารย์ให้นักศึกษาตอบคำถามท้ายบท
กิจกรรมที่ 3 อาจารย์ให้นักศึกษอธิบายลำดับขั้นพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
กิจกรรมที่ 4 อาจารย์ให้นักศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบแนวคิดทฤษฎีทางความคิดสร้างสรรค์

 💡 Evaluation
Teacher Evaluation : อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นร่วมกัน
Self-assessment : อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาทำในคาบเรียนเพื่อที่นักศึกษาจะได้ไม่มีงานค้างซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากค่ะ ^^  
Evaluate friends  : เพื่อนๆเข้าเรียนกันทุกคน ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน และได้ตอบคำถามที่อาจารย์ได้ให้โจทย์มากันทุกคนค่ะ

วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2563

Learning Log 10
      FridayApril 17, 2020 🌄
⏰ 12.30 - 15.30 PM
     การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

💡 The knowledge gained
        ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนในหัวข้อเรื่อง "การเคลื่อนไหวและจังหวะ" 
🏃 การเคลื่อนไหวและจังหวะ หมายถึง อัตราช้า เร็วของการเคลื่อนไหวเกิดจากการตบมือ การเคาะ การตี การดีด การเป่า เป็นต้น เป็นกระบวนการสำรวจตนเอง
🏃 การเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย
เช่น การวิ่ง การเดิน การก้าว การกระโดด เป็นการใช้ประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อใหญ่ประสานสัมพันธ์กับตา
🏃 ความเป็นมาของการเคลื่อนไหวและจังหวะ
จังหวะธรรมชาติ ได้แก่ ลมพัด กระแสน้ำ น้ำไหล เป็นต้น
  - การที่เด็กจะตอบสนองของเสียง เด็กจะทำท่าทางตามเสียง เช่น เสียงลมพัด เสียงกระแสแม่น้ำ 
จังหวะตามกิจวัตรประจำวัน ได้แก่ การแปรงฟัน เดิน วิ่ง เป็นต้น
🏃 ความสำคัญของการเคลื่อนไหวและจังหวะ
การเคลื่อนไหวและจังหวะจะช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลายจากความตึงเครียด ทั้งทางกายและใจ ผู้ใหญ่ควรคำนึงถึงเสรีภาพในการเคลื่อนไหวของเด็ก
🏃 ความสัมพันธ์ของกิจกรรมเคลื่อนไหวกับการเรียนรู้ทักษะทางกาย
1) การทำความเข้าใจ
2) ความสัมพันธ์
3) การแสดงออกอย่างอัตโนมัติ
🏃 มีจุดมุ่งหมายองค์รวมทั้ง 4 ด้าน ดังนี้
1) ด้านร่างกาย ในส่วนของกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ การประสานสัมพันธ์อวัยวะระหว่าง กล้ามเนื้อ - ตา
2) ด้านอารมณ์-จิตใจ การแสดงออกตามทชความรู้สึก การรับรู้ถึงความรู้สึก
3) ด้านสังคม
4) ด้านสติปัญญา
🏃 เงื่อนไขการเรียนรู้ของบุคคล
1) เงื่อนไขในตัวบุคคล
2) เงื่อนไขภายนอก 
     - คำอธิบาย 
     - ภาพ , สื่อ
     - การสาธิต
     - การฝึก
        - การให้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback)
🏃 การเคลื่อนไหวกับการพัฒนาสมอง
เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวของร่างกายกับการทำงานของสมอง (การบริหารสมอง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำสะอาด
   การเคลื่อนไหวมีทั้ง การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ การเคลื่อนไหวพร้อมอุปกรณ์ และการเคลื่อนไหวแบบไม่มีอุปกรณ์
   การทำงานของสมอง : เด็กแรกเกิด - 6 ปี สมองจะทำงานได้ดี พัฒนาได้ถึง 80% (ซึมซับ รับรู้ ปรับโครงสร้าง)
🏃 หลักการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
เด็กได้เลียนแบบในเรื่องต่างๆ ซึ่งเด็กแต่ละคนจะทำท่าทางต่างๆที่ไม่ซ้ำกัน
ตามธรรมชาติ เช่น เด็กทำท่าทางการว่ายน้ำ 
ชีวิตรอบตัวเด็ก 
ชีวิตสัตว์ต่างๆ เช่น ทำทางท่านกบิน 
ความรู้สึก เช่น เด็กทำท่าทางดีใจกระโดดโลดเต้น
เสียงต่างๆ 
- ใช้สิ่งของที่อยู่รอบตัวเด็ก เช่น เศษวัสดุ ผ้า เมื่อเราต้องการริ้บบิ้น สิ่งที่สามารถใช้แทนริ้บบิ้น ได้แก่ ผ้า เชือก กระดาษทิชชู่
- ครูกำหนดจังหวะ สัญญาณนัดหมาย เช่น ครูเคาะจังหวะ 2 ครั้งติดกัน ให้เด็กๆหยุดอยู่กับที่ทันที
- สร้างบรรยายกาศอิสระในห้องเรียน 
- สร้างความรู้สึกผ่อนคลายให้กับเด็ก เปิดเพลงช้าๆ สบายๆ
🏃  บทบาทครูในการจัดกิจกรรม
ให้เด็กออกมาร่วมกิจกรรมกลุ่มทีละไม่เกิน 10 คน 
ครูกำหนดจังหวะ ให้สัญญาณที่สัมพันธ์กับคณิตศาสตร์ เช่น เมื่อครูเคาะจังหวะ 2 ครั้งติดกันให้เด็กหยุดแล้วจับคู่กับเพื่อน 2 คน
🏃 ลักษณะการเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่
ได้แก่ การกระโดดอยู่กับที่ การวิ่งอยู่กับที่ การยืดเหยียด การบิดตัว การหมุนตัว การก้ม การลุกนั่ง เป็นต้น
🏃 ลักษณะการเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่
ได้แก่ การวิ่ง การเดิน การก้าว การไถล การคลาน เป็นต้น
    กิจกรรมต่อมาอาจารย์ได้มอบหมายให้นักศึกษาถ่ายคลิปวิดีโอทำท่าโยคะสำหรับเด็กปฐมวัย และคลิปวิดีโอเต้นเพลงสร้างสรรค์
ท่าโยคะสำหรับเด็ก ท่าพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว

เพลงและท่าเต้นสร้างสรรค์สำหรับเด็ก

💘 ภาพกิจกรรมในการเรียน Online 
 💡 Evaluation
Teacher Evaluation : สัปดาห์นี้อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาทำในคาบเรียนเพื่อที่นักศึกษาจะได้ไม่มีงานค้าง
Self-assessment : อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาทำในคาบเรียนเพื่อที่นักศึกษาจะได้ไม่มีงานค้างซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากค่ะ ^^  
Evaluate friends  : เพื่อนๆเข้าเรียนกันทุกคน ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน และได้ถ่ายคลิปวิดีโอที่สร้างสรรค์

วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2563

Learning Log 9
      FridayApril 10, 2020 🌄
⏰ 12.30 - 15.30 PM


💡 The knowledge gained
     ในสัปดาห์อาจารย์ได้สอนในหัวข้าเรื่อง "ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์พัฒนาความคิดสร้างสรรค์" 
🎶พลง เจ็ดวันเจ็ดสี 🎹 🎼
                                                 (ฐะปะนีย์ นาครทรรพ)
                   เจ็ดวันฉันนั่งนับ                 อาทิตย์รับเริ่มสีแดง
               วันจันทร์นั้นเปลี่ยนแปลง        เป็นสีเหลืองเรื่อเรืองตา
               วันอังคารสีชมพู                     ช่างงามหรูดูทีท่า
               วันพุธสุดโสภา                       เขียวขจีสีสดใส
               วันพฤหัสบดี                          ประสานสี แสดวิไล
               วันศุกร์ฟ้าอำไพ                     เสาร์สีม่วง เด่นดวงเอย

🎶 เพลง หนึ่งปีมีสิบสิงเดือน 🎹 🎼
       หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน       อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน    อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์

ในเพลงเจ็ดวันเจ็ดสี และ เพลงหนึ่งปีมีสิบสองเดือนนี้ เด็กสามารถได้ใช้คิดสร้างสรรค์ในเนื้อเพลงตรงช่วงเนื้อเพลงท่อนสุดท้าย เด็กๆอาจจะเติมเนื้อเพลงลงไป เช่น "ลัน ลัน ลา" , "ลา ลา ลัน ลา" เป็นต้น แล้วแต่ความคิดของเด็กที่จะเติมเนื้อเพลงลงไป 
เด็กจะเกิดความเชื่อมั่น ก็ต่อเมื่อครูผู้สอนนั้นเปิดใจ เปิดโอกาสยอมรับความคิดเห็นของเด็ก ให้เด็กได้แสดงออกในสิ่งที่คิด เด็กจะเกิดความกล้าที่จะแสดงออก และเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง

🍎 บทบาทของครูกับการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์พัฒนาความคิดสร้างสรรค์
1) ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาและทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เพื่อวางแผนการจัดกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก เนื้อหา ควรเลือกให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก จึงจะเหมาะสม 
2) ให้โอกาสเด็กได้เล่น เพราะการเล่นจะช่วยให้เด็กคิดและสร้างสรรค์ ครูต้องจัดกิจกรรม วัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่ท้าทาย ชวนให้เด็กสนใจ เข้ามาเล่นมาทดลอง เช่น หนังสือและรูปภาพ เกี่ยวกับคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ เกมนับจำนวน เป็นต้น
3) ให้เด็กมีส่วนร่วมริเริ่มกิจกรรม โดยครูถามคำถามปลายเปิด เช่น เด็กๆรู้ได้อย่างไรว่าผลไม้ 2 ผลนี้ ผลไหนหนักกว่ากัน และเราสามารถใช้อะไรชั่งน้ำหนักของผลไม้ได้บ้าง ? เด็กจะช่วยกันคิดและวางแผนกิจกรรม จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์หรือจัดทำขึ้นเอง
4) จัดเตรียมซื้ออุปกรณ์ที่มีความหลากหลาย เพื่อให้เด็กริเริ่มกิจกรรมได้มากกว่า 1 กิจกรรม เช่น ครูจัดเตรียมเชือกให้เด็ก เด็กๆอาจนำเชือกมาต่อกันให้ยาว หรือมัดเชือกจนเกิดเป็นรูปทรงต่างๆ ตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
5) จัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้ริเริ่มอย่างอิสระ กล้าแสดงออก กล้าคิด กล้าพูด กล้าที่จะทำ รู้จักคิดและแก้ปัญหา
6) จัดประสบการณ์และสภาพแวดล้อมที่ใกล้ตัวเด็กและสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
7) จัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นเป็นกลุ่ม และรายบุคคล เล่นได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
8) จัดกิจกรรมให้เด็กได้ไปศึกษานอกสถานที่ เพื่อให้เด็กได้มีประสบการณ์ตรงที่หลากหลาย เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน
9) ครูควรคำนึงถึงประสบการณ์ที่เด็กจะได้รับอย่างคุ้มค่า สามารถบูรณาการทักษะอื่นๆได้
10) ประสานสัมพันธ์ระหว่างครูและผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ความร่วมมือกันในการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก

กิจกรรมที่ 1 วาดภาพต่อเติมตัวเลข 1-9

กิจกรรมที่ 2 ต่อเติมเรขาคณิต
🍒 ในส่วนของกิจกรรมต่อเติมเรขาคณิต 🍒 
วัสดุ อุปกรณ์
1) กระดาษ 1 แผ่น
2) กรรไกร
3) สี
       อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำกระดาษมา 1 แผ่น จากนั้นให้นักศึกษาวาดภาพเรขาคณิตและตัดกระดาษเป็นเรขาคณิตทั้งหมด 9 ชิ้น และระบายสีให้เห็นชัดเจน จากนั้นนำมาต่อประกอบเป็นรูปตามความคิดสร้างสรรค์ของเราเอง

🍎 บทบาทของผู้ปกครองกับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์พัฒนาความคิดสร้างสรรค์
1) เห็นคุณค่าของการฝึกให้เด็กคิดหรือเล่นสนุกกับคณิตศาสตร์อย่างอิสระ จะทำให้เด็กเกิดริเริ่มความคิดสร้างสรรค์ การตอบคำถามของเด็ก หรือถามเด็กเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
   - วันนี้ลูกอยากช่วยคุณแม่ทำอะไร ?
   - ลองทายดูซิ วันนี้วันอะไร ? (การทายเรื่องวันเป็นการจัดหมวดอยู่กับเรื่องของเวลา)
2) ให้โอกาสเด็กได้ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ประจำวันและใกล้ตัวเด็ก เช่น การเก็บของเล่น ให้เป็นหมวดหมู่ (การเก็บของเล่นจะส่งเสริมกระบวนการทักษะสมองของ EF )
3) ส่งเสริมให้เด็กสังเกตจากสิ่งแวดล้อมขณะที่อยู่กับพ่อแม่ หรือขณะทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การอาบน้ำ ฝึกให้เด็กสังเกตความแตกต่างของน้ำที่ไหลจากฝักบัว หรือ ก็อกน้ำ น้ำที่ไหลออกมาจากฝักบัว จะมีลักษณะที่เป็นเม็ดเล็กๆ หรือฝอยๆ แต่น้ำที่ไหลออกมาจากก็อกน้ำจะไหลเป็นสายตรงลงมา 
           💡เมื่อต้องการฝึกความคิดสร้างสรรค์แก่เด็กควรถามคำถามปลายเปิด เช่น ถ้าเราอยากได้น้ำที่เป็นเม็ดเล็กๆ ฝอยๆเหมือนฝักบัว เด็กๆคิดว่าเราสามารถทำอย่างไรได้บ้าง ? อาจจะใช้ขวดพลาสติกเจาะรูเล็กๆ รอบๆขวดพลาสติกแล้วต่อสายยางให้น้ำไหลผ่าน 
4) ไม่วิพากย์วิจารณ์ หรือตำหนิสิ่งที่เด็กทำไม่ถูกต้อง จะทำให้เด็กเกิดขาดความมั่นใจ
5) จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสเลือกหลากหลายกิจกรรม โดยแต่ละกิจกรรมไม่ควรใช้เวลาที่นานเกินไปและไม่ยากเกินไป (ควรเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก)
6) ส่งเสริมให้เด็กช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น พ่อแม่ควรหากิจกรรมที่ให้พี่น้องได้ทำร่วมกัน หรือทำด้วยตนเอง จะทำให้เด็กเรียนรู้การปรับตัว การมีน้ำใจ การยอมรับซึ่งกันและกัน
7) เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก ** พ่อ แม่ควรทำตัวเป็นนักคณิตศาสตร์สร้างสรรค์ให้เด็กเห็นและเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน
8) จัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้เด็กนำมาใช้ขีดเขียน วาดภาพ ได้อ่าน นับจำนวนเลข  เป็นต้น
ภาพกิจกรรมขณะเรียนออนไลน์ แอพริเคชั่น Zoom

🍑 🍑 🍑 🍑 🍑 🍑 🍑 🍑 🍑 🍑 🍑 🍑 🍑 🍑 🍑 🍑

💡 Evaluation
Teacher Evaluation : อาจารย์ได้มีการเตรียมการเรียนการสอนแก่นักศึกษาได้ดี ใช้แอพริเคชั่น Zoom ในการเรียนการสอน ได้ให้นักศึกษาทำกิจกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ มีการถามไถ่ พูดคุยกับนักศึกษา 
Self-assessment : ตั้งใจเรียนและฟังที่อาจารย์สอน ได้จดบันทึกสิ่งที่ได้เรียนในวันนี้ และทำกิจกรรมที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ทำ 2 กิจกรรมในวันนี้
Evaluate friends  : เพื่อนๆเข้าเรียนกันทุกคน ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน มีการตอบคำถามเมื่ออาจารย์ถามหรือขอความคิดเห็น

วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2563

Learning Log 8
      FridayApril 3, 2020 🌄
⏰ 12.30 - 15.30 PM
     การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

💡 The knowledge gained
     ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนในหัวข้อเรื่อง "ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์กับความคิดสร้างสรรค์"
     ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง การฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ หรือการใช้เครื่องมือในการค้นคว้าทดลอง และแก้ปัญหาโดยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  เช่น กางสังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนก เป็นต้น
💫 ทักษะพื้นฐานกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 
1. ทักษะการสังเกต
2. ทักษะการจำแนก
3. ทักษะการสื่อความหมาย
4. ทักษะการแสดงปริมาณ
5. ทักษะการทดลอง
💫 STEM  คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการสาระวิชา 4 สาระ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ไปใช้ในการเชื่อมโยงและแก้ปัญหาในชีวิตจริง 
💫 STEM กับการทำอาหาร Cooking  🍚🍝🍲🍱🍗🍔🍳🍸
วิทยาศาสตร์ ➠ ในการทำอาหาร การทำอาหารอย่างไรให้สุก 
เทคโนโลยี ➠ การใช้หม้อ กระทะ ทัพพีต่างๆ
คณิตศาสตร์ ➠ การคำนวณในการปรุงอาหารต่าง ๆ สัดส่วนปริมาณในการปรุงอาหาร
💫 Inquiry Process ประกอบด้วย (วิทยาศาสตร์)
(1) ขั้นสร้างความสนใจ เป็นขั้นของการนำเข้าสู่บทเรียน
(2) ขั้นสำรวจและค้นหา
(3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป สรุปเป็นMy mapping หรือ ผังกราฟิก
(4) ขั้นขยายความรู้ นำความรู้มาเชื่อมโยงกับความรู้เดิม 
💫 เทคโนโลยีประกอบด้วย 7 ขั้น
💫 วิศวกรรม
(1) การกำหนดปัญหา ความต้องการ
(2) หาแนวทางการแก้ปัญหา
(3) ลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา
(4) ทดสอบและประเมินผล
💫 คณิตศาสตร์ 
เป็นเครื่องมือในหาหาข้อมูล สืบเสาะ เป็นกระบวนการสุดท้าย
💫 Active Learning เน้นกระบวนการบูรณาการ
(1) จัดการเรียนรู้เน้นบูรณาการ
(2) เชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาสาระวิชาทั้ง 4 ได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ กับชีวิตประจำวัน อาชีพ
(3) พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
(4) จัดกิจกรรมที่ท้าทายความคิดของเด็ก
(5) เปิดโอกาสให้เด็กได้สืบค้น นำเสนอ และแสดงความคิดเห็น (สังเกตได้จากการที่เด็กสามารถตอบคำถามได้ หรือวาดรูปให้เราเห็นได้) สร้างความเข้าใจสอดคล้องกับเนื้อหาเป็นการสร้างประสบการณ์ผ่านการเล่น (การลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5) ลงมือปฏิบัติ ควบคู่กับพัฒนาการคิด ตั้งคำถาม สืบค้น รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ
💫 มาตรฐานการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้แบบ STEM
(1) มาตรฐานทางวิทยาศาสตร์
     ➢ ทางกายภาพ ได้แก่ สมบัติทางกายภาพของวัสดุ การเคลื่อนที่ของวัตถุ สิ่งที่ไม่มีชีวิต กฎเกณฑ์ต่างๆ ลักษณะ การลอย การจม แรง 
     ➢ วิทยาศาสตร์มีชีวิต ได้แก่ สิ่งมีชีวิตสัตว์ พืช เด็กปฐมวัย สำหรับเด็กจะเน้นไปที่พืชและสัตว์ในสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อเด็ก
     ➢ วิทยาศาสตร์โลก ได้แก่ หิน เปลือกหอย ดิน โลก สภาพอากาศ ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน
(2) มาตรฐานทางคณิตศาสตร์
     ➢ จำนวนและการดำเนินการ
     พีชคณิต
     ➢ เรขาคณิต
     ➢ การวัด
     ➢ การวิเคราะห์ข้อมูล
💕 ภาพกิจกรรมการเรียนการสอน Online 
     
💡 Evaluation
Teacher Evaluation อาจารย์ได้มีสื่อการสอน Power Point ให้นักศึกษาดูประกอบการสอน ทำให้นักศึกษาสามารถเรียนได้เข้าใจง่ายขึ้น
Self-assessment : ตั้งใจเรียนและฟังที่อาจารย์สอน มีการจดบันทึกลงในสมุด บางช่วงบางตอนมีเสียงรบกวนบ้างทำให้เสียสมาธิในการเรียนเล็กน้อยค่ะ
Evaluate friends : เพื่อนๆเข้าเรียนกันครบทุกคน และตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน มีการตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นที่อาจารย์ถาม 
Learning Log 7
      FridayMarch 27, 2020 🌄
⏰ 12.30 - 15.30 PM
     การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

💡 The knowledge gained
      ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนในหัวข้อเรื่อง 
"ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์กับความคิดสร้างสรรค์"
ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์แบ่งได้ 13 ทักษะ ทักษะที่ 1-8 เป็นทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ทักษะที่ 9-13 ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นสูง ส่วนเด็กปฐมวัยเรียนรู้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
🌷ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
1) ทักษะการสังเกต
2) ทักษะการจำแนกประเภท
3) ทักษะการสื่อความหมาย
4) ทักษะการแสดงปริมาณ
5) ทักษะการทดลอง
🌷แนวทางการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
 ยอมรับฟังคำถามที่แปลกใหม่ของเด็ก
ยอมรับฟังความคิดและวิธีการแก้ปัญหาแปลกใหม่ที่เด็กคิด
แสดงให้เด็กเห็นว่าความคิดของเด็กมีคุณค่า
➣ จัดโอกาสให้เด็กได้คิดและค้นพบโดยไม่ต้องมีการประเมินผล
➣ การประเมินผลจะต้องให้เด็กได้ทราบเหตุและผลของการประเมินผล
🌷 บทบาทของครูกับการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1) จัดสภาพแวดล้อม บรรยากาศในชั้นเรียน
2) ครูควรเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็ก 
3) ครูควรมีการแนะนำอุปกรณ์วิทยาศาสตร์เพื่อให้เด็กนั้นสนใจ
4) สอดแทรกทักษะวิทยาศาสตร์เข้ากับเนื้อหาการเรียนรู้
5) การสรุป ยอมรับฟังความคิดเห็นจากเด็กๆ
🌷 บทบาทของผู้ปกครองกับการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
1) ส่งเสริมให้เด็กรู้จักการสังเกต
2) ใช้คำถามกับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กตั้งคำถาม ควรเป็นคำถามแบบปลายเปิด
3) ผู้ปกครองมีส่วนร่วมทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การทำอาหาร การทอดไข่ อาจใช้คำถามปลายเปิด เช่น
    ➣ นอกจากจะใช้ซ้อมตีไข่แล้ว เราสามารถใช้อะไรแทนได้บ้าง ? 
 การจัดกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ ให้เด็กได้ดูอุปกรณ์และให้เด็กได้คิดว่าอุปกรณ์นั้นเราสามารถใช้ทำอะไรได้บ้าง ?
🌷🌿🌷🌿🌷🌿🌷🌿🌷🌿🌷🌿🌷🌿🌷
อาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่และคิดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

 💡 Evaluation
Teacher Evaluation : อาจารย์สอนนักศึกษาด้วยความตั้งใจ มีสื่อ Power Point ประกอบการสอน ทำให้นักศึกษาเข้าใจง่ายขึ้น
Self-assessment : ตั้งใจเรียนและฟังที่อาจารย์สอน มีการจดบันทึกความรู้ และทำงานส่งอาจารย์ด้วยความตั้งใจ
Evaluate friends  : เพื่อนๆเข้าเรียนกันส่วนใหญ่ และตั้งใจทำงานตามที่อาจารย์ได้มอบหมาย